หากใครที่มีรูปร่างอ้วนเหมือนลูกแอปเปิ้ล คือป่องตรงส่วนท้องมากกว่าส่วนอื่น ๆ อาจเป็นไขมันที่สะสมมานาน และอยู่ในอวัยวะภายในมากกว่าที่จะเป็นไขมันนุ่ม ๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ดังนั้นการจะลดไขมันที่อยู่ข้างในร่างกายได้ขนาดนี้ ออกกำลังอย่างเดียวไม่พอ ต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารด้วย และถ้าหากเป็นไขมันหนา ๆ คงไม่พอ ต้องลดความหน้าท้องโดยการดูดไขมัน หรือตัดหนังหน้าท้องออก
เคล็ดลับลดไขมันหน้าท้องง่าย ๆ
- เริ่มต้นวันด้วยกิจกรรมที่ทำให้ตื่นตัว เช่น วิ่ง แอโรบิกเบา ๆ วิ่งหรือเดินขึ้นบันไดระหว่างเดินทางไปทำงาน เป็นต้น เพื่อเพิ่มการตื่นตัวให้เราสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และเผาผลาญพลังงานมากขึ้น
- มีกิจกรรมระหว่างวันทำอยู่ตลอดเวลา อาจจะใช้เวลาระหว่างการเดินไปห้องน้ำระหว่างทำงานหรือเรียนด้วยการเดินเร็ว เดินขึ้นบันไดแทนลิฟท์ อย่าลืมลุกขึ้นจากเก้าอี้ทุกๆ 1-2 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันโรคอ้วน และออฟฟิศซินโดรมอื่น ๆ
- สามารถรับประทานอาหาร 3 มื้อได้ตามปกติ แต่เลือกอาหารที่รับประทานมากขึ้น หลีกเลี่ยงข้าวขาว กินข้าวกล้อง ข้าวแดงแทน เลือกโปรตีนไขมันต่ำ เช่น ไก่ ปลาลอกหนัง เพิ่มผักผลไม้ให้มากขึ้น และลดของหวานทั้งขนม และเครื่องดื่ม
- ออกกำลังกายวันละอย่างน้อย 30 นาที 5-7 วันต่อสัปดาห์ เน้นการออกกำลังกายทุกส่วน และหน้าท้อง ตามด้วยการออกกำลังที่ต้องต้านทานกับน้ำหนัก เช่น ซิทอัพ แพลงก์ ฯลฯ
ไม่เข้านอนดึกเกินไป เพราะยิ่งนอนดึก ยิ่งเสี่ยงต่อการหักห้ามใจที่จะไม่กินจุบจิบตอนกลางคืนได้ - ปัญหาน้ำหนักตัวยังไม่ทำให้หนักใจเท่าปัญหาหน้าท้องที่ล้ำหน้าออกมา เพราะต่อให้มีรูปร่างสมส่วนแต่มีหน้าท้องป่อง ๆ รับรองแต่งอะไรก็ดูไม่ดี และการมีไขมันหน้าท้อง อีกทั้งการมีหน้าท้องนูน ๆ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจ เบาหวาน โรคมะเร็งอีกด้วย
สาเหตุที่ทำให้ลดหน้าท้องแล้วไม่ได้ผล
อายุยิ่งมากก็ยิ่งลดหน้าท้องยากมากขึ้น นั่นเป็นเพราะกลไกธรรมชาติของร่างกายทำงานได้ช้าลง ด้อยประสิทธิภาพตามอายุการใช้งาน โดยเฉพาะคุณสาว ๆ ที่ก้าวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนจะถูกผลิตน้อยลงส่งผลให้ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนมีอัตราสูงขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งความแปรปรวนของฮอร์โมน ณ จุดนี้ก็อาจเหนี่ยวรั้งให้ผู้หญิงควบคุมน้ำหนักตัวได้ยาก รวมทั้งหน้าท้องก็จะขึ้นง่ายแต่ทำกลับให้แบนราบเหมือนเดิมลำบาก
ออกกำลังกายผิดวิธี การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างการว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือการเคลื่อนไหวร่างกายเรียกเหงื่อทั่วไปอาจดีกับหัวใจเป็นอย่างมาก แต่นั่นไม่เพียงพอให้คุณลดน้ำหนักและกระชับสัดส่วนได้มากอย่างที่คิดไว้เพราะการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอช่วยเบิร์นได้แค่ไขมันบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหากจะให้ดีควรต้องออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอควบคู่ไปกับการเล่นเวท
กินอาหารสำเร็จรูปมากเกินไป คนที่ชอบดื่มน้ำหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารประเภทแป้งขัดสีเป็นประจำสารปนเปื้อนที่มาพร้อมกับกระบวนการแปรรูปอาหารเหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงไปยังร่างกายของเรา สร้างข้อบกพร่องและอาการอักเสบจนเป็นเหตุให้หน้าท้องยื่นออกมา คราวนี้จะกลับไปลดหน้าท้องให้แบนราบก็คงยากถ้ายังไม่ปรับพฤติกรรมรับประทานอาหารของตัวเองสักที
รับประทานไขมันชนิดไม่ดีเป็นส่วนใหญ่ไขมันไม่ใช่อาหารต้องห้ามของร่างกาย แค่ต้องรับประทานให้เป็นซึ่งนอกจากจะต้องจำกัดปริมาณไขมันให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว ก็ควรต้องเลือกกินไขมันให้ถูกชนิดด้วย โดยไขมันชนิดดีที่ควรรับประทานก็ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fats) ประเภทไขมันจากอะโวคาโด น้ำมันมะกอก เป็นต้น
เครียดพาอ้วนความเครียดไม่เคยดีต่อสุขภาพเลยสักนิดเดียวเพราะนอกจากจะโน้มน้าวให้ร่างกายอ่อนแรงเศร้าซึมจนอยากกินของหวานเพื่อปลุกความสดชื่นให้ร่างกายแล้วเมื่อเครียดร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ออกมาเกินปกติ ทำให้ไขมันในเลือดพุ่งกระจายไปยังเซลล์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดภาวะไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) ได้ง่ายขึ้น
พักผ่อนไม่เพียงพอ ผลวิจัยจากสถาบันสุขภาพนานาชาติของอเมริกาเผยว่า กลุ่มคนที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง มีอัตราน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 30% หรือมากกว่านั้น ในขณะที่อาสาสมัครกลุ่มที่นอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ มีแนวโน้มน้ำหนักตัวลดลง ซึ่งก็สรุปได้ว่า คนที่นอนน้อยร่างกายจะเกิดการแปรปรวน กระบวนการเผาผลาญต่าง ๆ ก็ด้อยประสิทธิภาพลงจนเป็นเหตุให้มีโอกาสโรคอ้วน
หลายคนคิดว่าไขมันหน้าท้องที่นูนออกมาเล็กน้อยไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เลยไม่ได้ใส่ใจจะควบคุมอาหารหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น อีกทั้งบางรายยังห่างไกลการออกกำลังมาก ๆ ด้วย ซึ่งจุดนี้อาจทำให้คุณลืมระมัดระวังตัวจากโรคอ้วนลงพุง และกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ร่างกายเริ่มแย่ไปแล้ว